ยกระดับมาตรฐานโสมไทยสู่ GAP โสมไทยพืชผักสมุนไพรที่ถูกมองข้าม

วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  นำโดย ผศ.จุฑาพร แสวงแก้ว รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จัดกิจกรรมพัฒนาการปลูกพืชตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agriculture Practice (GAP)  ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรอย่างยั่งยืน ณ  ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยคณะวิทยากร จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายในหัวข้อ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มกษ.9001-2564  ดังนี้  ข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งน้ำ พื้นปลูก และการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร โดยมี รศ.ดร.กิริยา สังข์ทองวิเศษ  เป็นวิทยากร, ข้อกำหนดเกี่ยวกับ การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการพักผลิตผลการขนย้ายในแปลงปลูกและเก็บรักษา โดยมี นางสาววิลาวรรณ ดรวิชา เป็นวิทยากร,  ข้อกำหนดเกี่ยวกับ สุขะลักษณะส่วนบุคคล และการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ โดยมี อาจารย์ ฐิติพร พิทยาวุธวินิจ เป็นวิทยากร และการบรรยายหัวข้อ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร มกษ.3502-2561 โดยมี ดร.ชุตินันท์ ชูสาย เป็นวิทยากร

นอกจากนี้ คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม ได้กำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน ได้แก่ การกำหนดราคา ช่วงเวลาการรับซื้อเมล็ดพันธุ์และต้นพันธุ์ที่ได้จากแปลงที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP และการกำหนดการจัดงานนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการโสมไทยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ในช่วงเดือนธันวาคม 65

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องบันทึกข้อมูลและดำเนินการตามข้อปฏิบัติมาตรฐาน GAP โดยศูนย์ประสานงานฯ จะมีการอบรม เรื่อง การใช้ประโยชน์โสมไทย (การแปรรูป) ให้แก่ผู้เข้าอบรมครั้งต่อไป ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565

Scroll to Top