“Education Transformation” การปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อพัฒนาและส่งมอบองค์ความรู้ที่ทันต่อความต้องการของสังคม

“Education Transformation” การปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการกำหนดทิศทางบริหารมหาวิทยาลัยให้พร้อมต่อระบบการศึกษาอย่างเสรี เข้าถึงแหล่งความรู้ทุกทิศทาง พร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และด้านดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาและส่งมอบองค์ความรู้ที่ทันต่อความต้องการของสังคม

     จากแผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563 – 2566 ด้านการจัดการศึกษา มีการกำหนดทิศทางบริหารมหาวิทยาลัยให้พร้อมต่อระบบการศึกษาอย่างเสรี เข้าถึงแหล่งความรู้ทุกทิศทาง พร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว มีการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation) โดยการพัฒนาหลักสูตรเดิมสู่กระบวนทัศน์ใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Experiential learning) สร้างหลักสูตรใหม่ตามความต้องการของสังคมและ มีหลักสูตรสําหรับประชาชนทุกกลุ่มอายุ โดยเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนภารกิจนี้คือ ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากปีแรกของแผนยุทธศาสตร์ 2563 จนย่างก้าวเข้าสู่ปีสุดท้ายของแผนฯ ในปี 2566 มีความคืบหน้าไปอย่างไร

     รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงทิศทางในการขับเคลื่อน Education Transformation ว่า “เราก็ต้องการตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในช่วงนี้อย่างเช่น Digital Entrepreneurship หลักสูตรผู้ประกอบการดิจิทัล หรือหลักสูตร High-Speed train เราถือว่าเป็น New curriculum เป็นสามประเด็นใหญ่ๆ ว่าหากขับเคลื่อนไปได้ ถือว่าเราได้ทำ Education transform” พร้อมทั้งขยายความต่อด้วยว่า

     ในส่วนของ Education transform หรือการปรับเปลี่ยนการศึกษาครั้งใหญ่ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 คือ Teaching ไป Learning paradigm  ประเด็นที่ 2 การศึกษาตลอดชีวิตประเภท non degree  ส่วนประเด็นที่ 3 ยังเป็นเรื่องหลักสูตร แต่เป็นหลักสูตรชนิดที่เรียกว่า “หลักสูตรใหม่” (New curriculum) ไปเลย เราต้องการตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในช่วงนี้อย่างเช่น Digital Entrepreneurship หรือ หลักสูตรผู้ประกอบการดิจิทัล ซึ่ง KKBS ร่วมกับคณะอื่นๆ อีก 5-6 คณะในการร่วมขับเคลื่อนหลักสูตร  หรือหลักสูตร High-Speed train เราถือว่าเป็น หลักสูตรใหม่ หรือ New curriculum ซึ่งเป็นสามประเด็นใหญ่ๆ ว่าหากเราเคลื่อนส่วนต่างๆ นี้ได้ ถือว่าเราได้ทำ Education transform

     รศ.ดร.ไมตรี ยังได้กล่าวถึงเรื่อง Teaching ไป Learning paradigm ว่า สำหรับเรื่อง Teaching ไป Learning paradigm ประเด็นแรกซึ่งเป็นประเด็นที่ใหญ่สุดคือ เรื่องตัวหลักสูตรการเรียนการสอน มี 5 องค์ประกอบ ต่อไปหลักสูตรจะต้องมีการบูรณาการ ไม่ใช่สาขาวิชาเดียวอีกต่อไป หรือจะบูรณาการระหว่างสาขาวิชาในคณะตัวเองก็ได้ โดยแต่ละคณะจะต้องไปออกแบบหลักสูตรเป็นของคณะเอง ประเด็นที่ 2 คือ การเน้นสมรรถนะที่เรียกว่า Competency-based Curriculum  องค์ประกอบแรกคือ ไม่เน้นไปที่ตัวความรู้ที่เป็นการสอน หรือ teaching มากเกินไป  องค์ประกอบที่สอง เน้นไปสมรรถนะเลย ประเด็นที่ 3 ตัวหลักสูตรเน้นสมรรถนะด้านการเรียนรู้ที่เกิดจากหลักสูตรโดยเน้น Experiential learning ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งต้องไปออกแบบหลักสูตรว่า ผู้เรียนจะรับประสบการณ์ที่ไหนอย่างไร เช่น ฝึกอบรมหรือฝึกภาคปฏิบัติ หรือส่งไปเรียนรู้จริงยังสถานประกอบการ ซึ่งการจะทำแบบนี้ได้องค์ประกอบที่สำคัญมากอีก 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 4 หลักสูตรต้องมีการพัฒนาอาจารย์อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง จะทำแบบ Deliver knowledge ไม่ได้แล้ว แต่ต้องเป็นโค้ช หรือเป็น Facilitator กระตุ้นให้เขาไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นความท้ายทายอย่างมาก และองค์ประกอบที่ 5 เรื่องวัดและประเมินผล หลักสูตรต้องมีการวัดและประเมินผลแนวใหม่เป็นการวัดและประเมินผลที่ตอบสนองหรือกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน โดยต้องมีการปรับเปลี่ยนระเบียบการวัดประเมินผลใหม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นถือว่าออกตัวเร็วที่สุดกับระเบียบปริญญาตรีเมื่อปี 2565  ทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เป็นองค์ประกอบที่บอกว่าจะทำให้หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรกระบวนทัศน์ใหม่ ตอนนี้เราก็ทำได้ประมาณ 80 กว่าหลักสูตร

     ถ้าคิดโดยภาพรวมของหลักสูตรทั้งหมด ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท  เราขับเคลื่อนตามองค์ประกอบ ได้ประมาณเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ทำ non-degree แล้วสามารถ re-skill  up skill หรือ new skill ตามการตอบโจทย์สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือยุทธศาสตร์ชาติ

     ส่วนในเชิงนโยบายเชิงโครงสร้าง ท่านอธิการบดี ก็มอบหมายภารกิจมีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต หรือ Center for lifelong learning ขึ้นในสำนักบริการวิชาการแล้ว ตรงส่วนนี้เราก็มีระบบคลังหน่วยกิตรองรับไว้เลย ซึ่งออกแบบเรียบร้อยแล้ว เชื่อมกับคลังหน่วยกิตกลางของระดับชาติที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ผู้เข้ามาเรียน สามารถเก็บหน่วยแล้วก็ดูว่าตนเองจะขอปริญญาอะไรก็ดำเนินการไป โดยเป็น point ที่ 2 หรือประเด็นที่ 2 เรื่องการ transform ซึ่งคิดว่าถึงวันนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเดินทางมาได้ไกลมากแล้วก็มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้มาก


     รศ.ดร.ไมตรี กล่าวในประเด็นสุดท้ายว่า ส่วนด้านบริการวิชาการ ถือว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นทำมานานและก็ต่อเนื่อง เราเริ่มมองเห็นว่าจะต้องมีการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อเราพูดถึง การพัฒนาแบบยั่งยืนในมิติที่สหประชาชาติเขาพูดกันหรือระดับโลกเขาพูดกันก็คือเรื่อง 17 ประเด็นของ SDGs เราก็เลยเชื่อมโยงกับ ranking ของมหาวิทยาลัยด้วย เพราะการทำงานด้านการบริการวิชาการเราก็พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีทิศทางที่ชัดเจน ชุมชนที่สามารถเรียกว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเราทำเยอะมากทั้งในเขตภาคอีสาน รวมทั้งในเขตอื่นด้วย ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นภาพรวมทั้งในส่วนของ education และในส่วนของ Academic Services หรือบริการวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการขับเคลื่อนมาได้ไกลและความก้าวหน้ามากแล้ว

รวบรวม เรียบเรียง : เบญจมาภรณ์  มามุข

ข้อมูล ภาพ : กองสื่อสารองค์กร และรายการ KKU Transformation

 

“Education Transformation” of Khon Kaen University is aimed at development and transfer of new knowledge according to the society’s need

 

https://www.kku.ac.th/16667

 

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top