อาจารย์-นศ. สถาปัตย์ ร่วมสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ในงาน “มหกรรมศิลปะ เซรามิกนานาชาติ” จังหวัดราชบุรี

สืบเนื่องจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “มหกรรมศิลปะ เซรามิกนานาชาติ” จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ในฐานะเมืองเซรามิก ระดับประเทศ สร้างทางเลือกใหม่ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการบำบัดจิตใจโดยใช้งานศิลปะ นำโดย คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธร สาขาการออกแบบ ประจำปี 2553 เกิดและเติบโตในครอบครัวผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่และมีชื่อเสียงของ จ.ราชบุรี (โรงงานเถ้าฮงไถ่) และการร่วมมือจากศิลปินเซรามิกที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศและต่างประเทศสร้างสรรค์ผลงานเครี่องปั้นดินเผา สำหรับการติดตั้งถาวรในพื้นที่สาธารณะในเขตอำเภอ เมืองราชบุรี ทั้งสิ้น โดยทางหัวหน้าโครงการได้เลือกพื้นที่ในการติดตั้ง ผลงาน 2 พื้นที่ได้แก่

จุดที่ 1 ประติมากรรมนูนสูงนูนต่ำเป็นแผ่นกระเบื้องมาตกแต่ง ติดตั้งบนผนังตรงชั้นพักบันไดทางขึ้นชั้น 2 แผนกเด็ก , กุมาร อาคารเจ้าฟ้า โรงพยาบาลราชบุรี ขนาด กว้าง 2.60 m. สูง 2.85 m. มีความลึกจากขอบเสาปูน 25 cm. เป็นผลงานออกแบบและสร้างสรรค์โดย ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร  อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีแนวคิดการออกแบบที่ใช้แนวคิดเรื่องภาพครอบครัว ความสุขในครอบครัว เนื่องจากภาพของครอบครัวในความรู้สึกของผู้ออกแบบนั้นเป็นภาพที่อบอุ่นสำหรับทุก ๆ คน การที่ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้านั้นดูอบอุ่น ในการออกแบบได้นำภาพองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สื่อถึงธรรมชาติ จาก ลวดลายของโอ่งราชบุรีที่มีการผลิตต่อ ๆ กันมา และศึกษาลวดลายผ้าจกประจำจังหวัดราชบุรี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในการออกแบบประติมากรรมนูนสูง

จุดที่ 2 ประติมากรรมนูนสูงและประติมากรรมลอยตัว ติดตั้งกับพื้นที่ ที่มีผนังกว้าง2.46 m สูง1.47 m กว้าง 2.46m และบนพื้นมีพื้นที่กว้าง 40 cm ยาว 2.46m บริเวณสวนขนาดเล็กและผนังทางเข้า ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดช่องลม) ในตัวเมืองราชบุรี ในการออกแบบและสร้างสรรค์โดยบูรณาการการเรียนการสอนนของนักศึกษาสาขาเครื่องปั้นดินเผาชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา AR023 302 Creative Ceramics ได้แก่ นางสาวบุลธีร์ธิดา รื่นภิรมย์ , นายณัฐพงษ์ เสงี่ยมพักตร์  , นางสาวบวรภัค คงศิริรัตน์  และนางสาว วัชรญาณ์ สฤษชสมบัติ โดยมี ชื่อผลงาน “ท่องอวกาศเพื่อคว้าความสำเร็จ”  

นางสาวบุลธีร์ธิดา รื่นภิรมย์ ตัวแทนกลุ่มได้ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องจากศึกษาสถานที่ที่จะนำไปติดตั้ง คือโรงเรียนเทศบาล2 (วัดช่องลม) เป็นโรงเรียนระดับประถม จึงได้ออกแบบงานภายใต้คอนเซ็ปต์และดีไซน์ผลงานออกมาในรูปแบบคาร์แรคเตอร์การ์ตูนที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ และอาจารย์ หรือผู้ที่ผ่านมาพบเห็นได้ ซึ่งเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์งาน ท่องอวกาศเพื่อคว้าความสำเร็จ

แนวความจากเป้าหมายและความสำเร็จของแต่ละคนมีความคล้ายคลึงกัน แต่วิธีการที่จะไขว้คว้าเอา ความสำเร็จของทุกคนนั้นมีความแตกต่าง สุดท้ายผลลัพธ์ก็คือ ทุกคนพอใจกับความพยายามของตนเองที่ทำอย่าง สำเร็จ แมวทั้ง 4 ตัว ที่ท่องอยู่ในอวกาศของความสำเร็จ ทุกตัวมีเป้าหมายเดียวกันคือไขว้คว้าความสำเร็จมาให้กับตัวเอง

  • แมวในชุดนักบินอวกาศที่นั่งถือเบ็ดตกดาวอย่างใจจดใจจ่อรอจังหวะและรอเวลาที่ใช่เพื่อให้ความสำเร็จมากินเบ็ดของตนเอง (การถือเบ็ดตกดาวสื่อถึงการรอคอยจังหวะที่จะจับเอาความสำเร็จ)
  • แมวปลาหมึกเป็นผู้ที่มีเป้าหมายความสำเร็จหลายอย่างเเละต้องการที่จะทำมันให้ได้ (มีหลายมือสื่อถึงการไขว่คว้าความสำเร็จให้ให้ได้หลายๆอย่าง)
  • แมวดาวเป็นผู้ที่สนุกในการไขว้คว้าหาความสำเร็จสำเร็จให้กับตนเอง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเพื่อเก็บเกี่ยวเอาสำเร็จมาใส่ตนเอง (เปรียบสไลด์เดอร์เป็นสนุก)
  • แมวขับจานบินเป็นผู้ที่พยายามมองหาความสำเร็จ แต่ต้องใช้มุ่งมั่นและความพยายามอย่างมาก เพื่อที่จะเก็บเอาความสำเร็จมาให้กับตนเอง (มี 4 ตาและขับจานบิน สื่อถึงความมุ่งมั่นและความพยายาม)

ผลงานชิ้นนี้ใช้ระยะเวลาในการทำทั้งหมดอยู่ที่ 2 เดือน ซึ่งรวมกระบวนการเผา และกระบวนการอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย กระบวนการออกแบบอยู่ภายใน 1 สัปดาห์ กระบวนการปั้นอยู่ภายใน 2 สัปดาห์ และระยะเวลาที่เหลือคือส่วนของการรองานแห้ง กระบวนการเผาต่าง ๆ การซ่อมชิ้นงานและนำชิ้นงานไปติดตั้ง ซึ่งผลงานประติมากรรมนี้ เป็นงานที่ได้รับโอกาสและประสบการณ์ที่ดีเยอะมากๆ เป็นงานที่ทำแล้วมีทั้งความสุข ความตื่นเต้นและความภูมิใจในตนเอง และเพื่อนในกลุ่มทุกคน ที่พากันผ่านปัญหาที่เจอทั้งหมดมาได้

ซึ่งกิจกรรมผลงานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาทั้ง 2 ชิ้นงานนี้ติดตั้งถาวรทั้งในโรงพยาบาลราชบุรี และ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดช่องลม)  ต้องขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.ธนสิทธิ์  จันทะรี รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร หัวหน้าสาขาวิชาการออกแบบ  อาจารย์ ดร.ขวัญหทัย ธาดา ที่กำกับดูแลควบคุมการผลิต และให้คำแนะนำการทำตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ  นับว่าเป็นการบูรณาการเรียนการสอนร่วมกับการดำเนินโครงการบริการวิชาการของทางคณะ ฯ ได้เป็นอย่างดี  และการสนับสนุนการดำเนินงานจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินการสร้างสรรค์ครั้งนี้

ข้อมูล : อาจารย์ ดร.ขวัญหทัย  ธาดา
ภาพ : ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร  และ อาจารย์ ดร.ขวัญหทัย  ธาดา
ข่าว : กรรณภัสส์ สิริเกียรติ

Scroll to Top