ฝ่ายนวัตกรรมฯ มข.จัดอบรม “การเตรียมข้อมูลการวิจัยในมนุษย์สำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร”

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมโครงการ “การเตรียมข้อมูลการวิจัยในมนุษย์สำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร” ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย โดยมีการอบรม 2 วัน ระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม 2566 โดยมี .ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ซึ่งการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ กล่าวว่า ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเตรียมข้อมูลการวิจัยในมนุษย์สำหรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร” ในวันนี้ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้มีทักษะพื้นฐานและมีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ซึ่งสอดคล้องและสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุตามนโยบายด้านการพัฒนานวัตกรรมและวิสาหกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น อันจะนำไปสู่การนำผลงานนวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ทั้ง เชิงพาณิชย์และเชิงสังคม

การอบรมในภาคเช้า เป็นการกล่าวถึงภาพรวมการอบรม และ Pre-test โดย ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ สำนักงานวิจัย วิชาการ และนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อด้วยการบรรยาย หัวข้อ “การขออนุญาตวิจัยและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้านยา อาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพร” โดย ผู้อำนวยการกองยา , ผู้อำนวยการกองอาหาร , ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ , ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร , ผู้อำนวยการกองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาท ในภาคบ่าย มี Workshop กรณีศึกษานำเสนอโครงการโดยผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 10 โครงการ โดย คณะวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

การอบรมวันที่ 2 คือวันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 มีการบรรยายหัวข้อ “การเตรียมข้อมูลและโครงร่างงานวิจัยในมนุษย์ (Concept of Product Development, Clinical study, EC submission) ” โดย .เกียรติคุณ ดร.พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร .พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ (NCRN) ผศ.ดร.ภญ.สุพัตรา ปรศุพัฒนา (KKUEC) และในภาคบ่าย มี Workshop นำเสนอโครงการโดยผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 10 โครงการ โดย คณะวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ทั้งนี้ การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาทิ การเพิ่มสารใหม่ที่อนุญาตให้ใช้ ตามกฎหมายยา อาหาร เครื่องสำอาง การขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ยาความเสี่ยงต่ำ และยาเสริมการรักษา เป็นต้น รวมทั้งการเตรียมข้อมูลและโครงร่างงานวิจัยในมนุษย์

ข่าว/ภาพ : ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top