การบริหารมหาวิทยาลัย

วิสัยทัศน์ (VISION)
“มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก”
(A World-Leading Research and Development University)

เป้าหมาย (Goals)
• People : ประชาคมมหาวิทยาลัยมีความรู้ความสามารถ และทักษะดิจิทัล มีความเชี่ยวชาญศาสตร์วิชาการ การวิจัย พัฒนาและการนาไปใช้ประโยชน์ การบริการ สังสันทนาการ บริหารจัดการ มีความพร้อมในการเรียนรู้ การเชื่อมโยงกับนานาสากลและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
• Ecological : ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยเกื้อหนุนการเรียนรู้ วิจัย เสริมประสิทธิภาพการทางาน และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของชุมชนมหาวิทยาลัยและผู้มาเยือน
• Spiritual : จิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยมีความสันติสุขและสมานฉันท์ของชุมชนทั้งภายในและภายนอก

"ค่านิยม" และ "วัฒนธรรมองค์กร" ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ SMART
S คิด อุทิศเพื่อชุมชน (Social Devotion with Creation)
M จัดการบนข้อมูลจริง (Management by Fact)
A ตอบสนองสิ่งคาดหวัง (Achieving Customer Excellent)
R รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักธรรมาภิบาล (Responsibility & Good governance)
T สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology & Innovation focus)
"คิด อุทิศเพื่อชุมชน จัดการบนข้อมูลจริง ตอบสนองสิ่งคาดหวัง รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักธรรมาภิบาล สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม"

“ค่านิยม” (Values) ซึ่งถือเป็นหลักการและพฤติกรรมชี้นำสำคัญ สื่อถึงความคาดหวังของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและบุคลากร ให้เป็นหลักปฏิบัติในการทำงาน การปฏิบัติต่อประชาชนและสังคม การพัฒนาตนเอง ซึ่งสะท้อนและหนุนเสริมโดยมีเป้าหมายให้เป็นหนึ่งเดียวกับวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ (Culture) ของมหาวิทยาลัย ค่านิยมที่กำหนดนี้จะช่วยสนับสนุนและชี้นำการตัดสินใจของบุคลากรทุกคน และช่วยให้องค์กรบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยค่านิยมมีความสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย

sdg

พันธกิจและนโยบาย
พันธกิจ (Mission)
        พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558 ได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาชั้นสูง ที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

พันธกิจและนโยบายการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น

    สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดพันธกิจและนโยบายในการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วง ปี พ.ศ. 2562 – 2566 (ตามประกาศ มข. ฉบับที่ 1689/2561) ดังนี้

ด้าน People : ดำเนินการให้ประชาคม หรือผู้มีส่วนได้เสียของมหาวิทยาลัย
1) มีความรู้ความสามารถในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกภารกิจตามภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ และก้าวสู่ระดับสากลอย่างต่อเนื่อง
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของสังคม (Quality Graduates)
- จัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมและปลูกฝังทักษะยุคใหม่ (Active Learning and Coaching)
- ส่งเสริมและพัฒนาทักษะคณาจารย์และบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy and Skills)
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นเลิศระดับสากล (Qualified Personnel)
- พัฒนาความรู้และทักษะในการทางานอยู่เสมอ (Continuous Upskills)
2) มีความมั่นคงในหน้าที่การงานอย่างเท่าเทียม และสามารถเพิ่มพูนมาตรฐานการดำรงชีพและสุขอนามัย
- ตระหนักถึงความเท่าเทียมกันทางเพศและสภาพร่างกาย (Gender and Disability Equality)
- สนับสนุนส่งเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย (Secure and Healthy Life)
- สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมั่นคงและคุ้มค่า (Job Security and Worthiness)
3) มีความสามารถและมีจิตบริการ ตอบสนองและชี้นำต่อสังคม ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- ตอบสนอง ชี้นำ และเตือนสติสังคม (Center of Social Wisdom)
- พัฒนาสังคมโดยใช้วิจัยเป็นพลังขับเคลื่อน (Research Driven Social Development)
- รักษ์วัฒนธรรมไทย และมีสุนทรียะ (Thai Culture and Aesthetics)

ด้าน Ecological : ดำเนินการให้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัย
1) มีสถานที่และอุปกรณ์ทันสมัย เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ดีและเหมาะสมกับการเรียนรู้ มุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยดิจิทัล”
- พัฒนาความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี (Tech-savvy Work and Living Places)
- พัฒนาสถานที่และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี (Good Workplace)
- พัฒนาระบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตประสิทธิภาพสูง (Highly Effective Internet Connection)
2) มีการดูแลและจัดการให้สภาวะแวดล้อมสวยงาม สะดวก สะอาด ประหยัด ปลอดภัย มุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยสีเขียว”
- รักษาสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Environment and Energy Friendly)
- ใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า (Responsible Consumption)
3) ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและการบริหารงานบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- พัฒนาความเป็นนานาชาติ (Internationalization)
- พัฒนาความเป็นเลิศสู่ระดับสากล (World Class)
- พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลโดยอิงสมรรถนะเป็นฐาน (Merit Based HRM)

ด้าน Spiritual : ดำเนินการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1) ยึดมั่นในคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม ด้วยหลักการและวิธีการ เปิดเผย โปร่งใส และเป็นธรรม
- บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล และสร้างสันติสุข (Good Governance and Peace)
2) ประสานและร่วมสร้างความก้าวหน้าและยั่งยืน
- เสริมสร้างความสมานฉันท์ ความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ (Collaboration/Coordination)
3) ค่านิยมพร้อมอุทิศตนเพื่อสังคม
- ปลูกฝังแนวคิดการอุทิศเพื่อชุมชนและสังคม (Mindset of Social Devotion)

11 ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 1: พัฒนาหลักสูตรสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (Learning paradigm)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 2: การจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 3: การพัฒนาหลักสูตรใหม่ (New Curriculum) เพื่อสร้างอาชีพใหม่ตามความต้องการของสังคม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 4: การจัดตั้งระบบการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ที่รองรับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดิจิทัล (KKU Academy)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 5: พัฒนาระบบศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้สามารถสร้างผลงานวิจัย
และนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 6: พัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 7: พัฒนานักศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century skills)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 8: ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดมุมมอง และขีดความสามารถในการเป็นพลเมืองโลก (Global Perspective & Capability)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับเปลี่ยนการทางานวิจัย
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 1: ลงทุนสร้างแพลตฟอร์มการวิจัยใหม่ (Invest New Research Infrastructure Platform)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ 2: สนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่ทำงานวิจัยเป็นทีมและทำงานต่อเนื่อง (Research programs/clusters)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: สร้างระบบนิเวศของการวิจัย (Research Ecosystem)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 4: สร้างระบบนิเวศสำหรับการสร้างนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 5: เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ หรือลงทุน หรือร่วมลงทุน (startup/ venture capital)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: วางระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่เอื้อต่อการสร้างผลงาน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: ยกระดับขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากร
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: สร้างระบบการจ้างงานที่หลากหลายและยืดหยุ่น (Flexible Employment system)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการ
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: การบริการวิชาการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม (CSV)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: การบริการวิชาการที่ใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กร
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: วางระบบบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศทั่วทั้งองค์กร เน้นการกระจายอำนาจ (Excellence execution by Centralized policy, Decentralized operation)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: มุ่งการขับเคลื่อนองค์กรเชิงกลยุทธ์และปรับปรุงกฏระเบียบที่ล้าสมัย (Strategic lead, Regulation follow)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: นำระบบสารสนเทศมาใช้ให้ครอบคลุม (Digital and Automation process management)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 4: บริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความยั่งยืน (Efficiently asset management)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นที่น่าทำงาน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: การสร้างสภาพแวดล้อมที่พร้อมสำหรับการทำงาน (Good Workplace) ของบุคลากรทุกกลุ่ม
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: การสร้างความผูกพันกับบุคลากรอย่างเป็นระบบ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นที่น่าอยู่
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: พัฒนามหาวิทยาลัยให้ประชาคมอยู่ดีมีความสุข (Well-Being University)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นชุมชนสีเขียว (Green Society)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: สร้างสุนทรียภาพให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย (Aesthetic Environment)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 4: การบริหารจัดการการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ (Land Utilization)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 5: การสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นเมืองสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 6: จัดระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยนำระบบ เทคโนโลยีแห่งอนาคตมาใช้ (Smart security)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 7: จัดระบบจราจรใหม่ให้มี Zoning โดยพยายามแยกถนนเพื่อการสัญจรหลักออกจากถนนแขนงย่อยที่เข้าสู่พื้นที่การศึกษา และพื้นที่การบริการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: การบริการเชิงลึกด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: สร้างระบบนิเวศด้านการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: การพัฒนาระบบการทำงานและการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 9 การนำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ global learners, global alumni, and global staff
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2: สนับสนุนและส่งเสริมเครือข่ายคุณภาพระดับโลกและระบบนิเวศน์ (Global Quality Network & Ecosystem)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3: สนับสนุนกลยุทธ์เพื่อการจัดอันดับ World University Ranking ที่สูงขึ้น
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 4: สร้างความเป็นนานาชาติทั้งด้านอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และสภาพแวดล้อม (International environment)และส่งเสริมการรับรู้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระดับโลก (visibility on global stage)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 10 การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: วางระบบการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้เกิดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย (Good Governance for all Units)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 11 เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1: จัดทำโครงการขนาดใหญ่ร่วมกันระหว่างคณะ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสังคมศาสตร์ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันในลุ่มน้ำโขง

แผนและรายงานผลด้านงบประมาณ

KKU DNA | OKRs KKU | กองยุทธศาสตร์ | กองพัฒนาคุณภาพการศึกษา

Scroll to Top