__________เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศูนย์นวัตกรรมแห่งความยั่งยืนและสังคม สังกัดวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับคณะเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการวิจัย “Circular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่น ๆ ในจังหวัดขอนแก่น” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวิศ เกตุแก้ว รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์ วิจัย และการต่างประเทศ และผู้อำนวยการโครงการ เป็นผู้กล่าวรายงาน ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวเป็นเกียรติในพิธีเปิด และ รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกูล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงานในระบบออนไลน์ ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกแขนง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
__________ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริมนพร ทิพสิงห์ กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงความหลากหลาย (Diversity) ที่เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อันนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ด้วยการผสมผสานสังคมศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Interdisciplinary) ในสภาพแวดล้อมที่เป็นนานาชาติ (Internationalization) จึงได้จัดโครงการวิจัย “Circular X Creative Economy ขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้เป็นนวัตกรรมยั่งยืน ภายใต้แนวคิด เทคโนโลยีใหม่ๆ รักษาความสมดุล รักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงวิถีมนุษย์และเชิงพาณิชย์ นวัตกรรมนี้นอกจากจะกระตุ้นสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ยังใช้ทรัพยากรบางอย่างที่น้อยลง ลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดและยั่งยืนที่สุด
__________“หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการวิจัย Circular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น จะเป็นตัวชี้วัดถึงศักยภาพของบุคลากรวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามาและให้เป็นผลประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง”
__________ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซวิศ เกตุแก้ว ผู้อำนวยการโครงการฯ เผยว่า โครงการวิจัย “Cercular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น ได้จัดขึ้นเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจและสร้างการตระหนักรู้แก่สังคม เกี่ยวกับการบริหารจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมมะม่วงแปรรูป บนพื้นฐานความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม เพื่อพัฒนานวัตกรรมการใช้ประโยซน์จากเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมมะม่วงแปรรูป จำนวน 5 นวัตกรรม สร้างสรรค์โดย 5 โครงการวิจัยย่อย ประกอบด้วย 1. คลาวด์แพลตฟอร์ม แบบบูรณาการเพื่อการจัดการส่วนเหลือทิ้งจากการผลิตมะม่วงแปรรูป และการจัดการความรู้เครือข่ายทางธุรกิจ 2. นวัตกรรมบัตเตอร์จากเมล็ดมะม่วง 3. นวัตกรรมกระดาษจากเปลือกมะม่วง 4. นวัตกรรมหนังมังสวิรัติจากเนื้อมะม่วง 5. นวัตกรรมหัตถกรรมจากเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และข้อสุดท้ายเพื่อนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนในห่วงโซ่อุปทานการผลิตมะม่วงแปรรูปแก่ชุมชนที่ร่วมโครงการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตนวัตกรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษมะม่วงเหลือทิ้ง พร้อมทั้งนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม”
__________“โครงการวิจัยนี้มีบริษัทที่จะร่วมทุนจำนวน 2 บริษัท คือ 1) บริษัทประกอบธุรกิจอาหารแปรรูปจากมะม่วงภายใต้แบรนด์ “เลดี้ศกุลตลา” และ 2) บริษัทประกอบธุรกิจหัตกรรมส่งออกภายใต้แบรนต์ “สัมผัสแกเลอรี่” โดยเลตี้กุลตลายินยอมรับเทคโนโลยีที่ 1 ถึง 4 ส่วนสัมผัสแกเลอรี่ยินยอมรับเทคโนโลยีที่ 5 ผู้ก่อตั้งสัมผัสแกเลอรี่เป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบผลิตภัณฑ์ผู้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างงานหัตถกรรมกับงานอุตสาหกรรม และมีตลาดส่งออกนยุโรปที่อยู่ตัวแล้วเพื่อรองรับนวัตกรรมหัตถกรรม ช่องทางการตลาดจึงถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากสำหรับโครงการวิจัยนี้ หลังจากจบโครงการผู้ประกอบการจะได้รับการบ่มเพาะผ่านโครงการ Business Incubation โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน ดำเนินการภายใต้วิทยาลัยนานาชาติ เป็นเวลา 1 ปี เพื่อเรียนรู้ระบบบริหารจัดการโมเดลธุรกิจแบบออนไลน์ที่สร้างขึ้น หลังจบจากโครงการ Business Incubation ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน ยังคงร่วมบริหารจัดการธุรกิจกับบริษัทเลดี้ตกุลตลาต่อไปในลักษณะหุ้นส่วน โดยศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน สามารถจัดหาบุคลากร ทางด้านบริหารธุรกิจและดิจิทัล (นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาประจำศูนย์) เพื่อบริหารระบบไอที และห่วงโซ่อุปทานการของธุรกิจ การที่ ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน มีส่วนร่วมดูแลธุรกิจยังสามารถต่อยอดให้เกิดโมเดลการศึกษาแบบ Education Sandbox ที่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลธุรกิจและเรียนรู้บทเรียนชีวิตจริงในการทำธุรกิจตีจิทัลไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้โมเดลธุรกิจนี้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”
__________รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกูล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ปัญหาขยะจากอาหารเป็นประเด็นที่ทุกประเทศกำลังร่วมมือกันแก้ไข การผลักดันและประยุกต์เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food loss and Food waste) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นกลุยุทธ์ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ รวมถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย จึงให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ และการจัดหาแนวทางในการแก้ปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารอย่างยั่งยืนเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของขยะอาหารเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
__________ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)ให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์วิจัยและวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พร้อมต่อการรองรับความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG Model” ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ BCG Model มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย รวมถึงเพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ในการกำหนดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความสามารถด้านทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ที่จะสามารถตอบสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ”
__________การสนับสนุนโครงการในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสอันดีในการผนึกเครือข่ายนักวิจัย นักวิชาการ นักผลิตนวัตกรรม มาเรียนรู้ และพัฒนาความร่วมมือทางด้านวิซาการ อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดียั่งยืนสืบไป
ข่าว/ภาพ : วัชรา น้อยชมภู