มข.ร่วมผลักดันเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน TRIUP FAIR 2023

ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ  เข้าร่วมเป็นเกียรติและนำทีมนักวิจัยออกบูธในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 (TRIUP Fair 2023) จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รวมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง  ภายใต้แนวคิด “Journey to Impact” เส้นทางจากงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) กล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์ 1-3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าพารากอน  เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

ซึ่งภายในงานประกอบไปด้วย กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ กิจกรรมเวทีเสวนาวิชาการ การให้คําปรึกษาและคําแนะนําด้านต่าง ๆ สําหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจด้านนวัตกรรม การเข้าถึงแหล่งทุนวิจัย การให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบและมาตรการกลไกต่าง ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินสําหรับการต่อยอดธุรกิจ การจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์ของนักวิจัย และผู้ประกอบการไทย กว่า 300 ผลงาน ภายใต้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ เกษตรและอาหารมูลค่าสูง และ Net Zero Emission  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำผลงานนวัตกรรมร่วมจัดแสดง จำนวน 13 ผลงาน ประกอบด้วย

การยกระดับสุขภาพคนไทยและอุตสาหกรรมการแพทย์

ผลงาน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่ออัตราสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นวัณโรคปอด โดย รศ.ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตรและคณะ คณะพยาบาลศาสตร์

ผลงาน Listeria Monocytogenes Rapid Test Strip โดย ผศ.ดร.พัชราภรณ์ ทิพยวัฒน์ คณะเทคนิคการแพทย์

ผลงาน neutrophil gelatinase-associated lipocalin (NGAL) โดย รศ.ดร.จุรีรัตน์ ดาดวง คณะเทคนิคการแพทย์

ผลงาน Cotinine Rapid Test Strip โดย รศ.ดร.จุรีรัตน์ ดาดวง คณะเทคนิคการแพทย์

ผลงาน Health AI-โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับประเมินอายร่างกายและอวัยวะสำคัญ โดย ศ.ดร.พัชรี เจียรนัยกูร และคณะ

ผลงาน วัสดุควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ชนิดฟิล์มบาง (Microbial Thin Film for Control Material) โดย ผศ.ดร.พัชราภรณ์ ทิพยวัฒน์ และคณะ

ผลงาน บริการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและสารปนเปื้อน ในผลิตภัณฑ์จากองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิคฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี (Service: Chemical composition analysis of Product by Fourier Transform Infrared (FTIR) spectroscopy) โดย อ.ดร.โมลิน ว่องวัฒนากูลและคณะ

ผลงาน บริการตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์เพื่อติดตามความชราระดับเซลล์ โดย รศ.ดร.จุรีรัตน์ ดาดวง และคณะ

การสนับสนุน Net Zero Emission

ผลงาน กระบวนการผลิตไฮโดรเจนและมีเทนแบบสองขั้นตอน โดยการย่อยร่วมน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพและกากหม้อกรอง โดย ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง คณะเทคโนโลยี

ผลงาน แพลตฟอร์มออนไลน์ Ugly Veggies – แบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการการสูญเสียและเศษเหลือทิ้งจากอาหารอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานผักสดโดย ผศ.ดร.ชวิศ เกตุแก้ว วิทยาลัยนานาชาติ

 การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมูลค่าสูง

ผลงาน อาหารเพียวเร่โยลมีลนุ่มพร้อมทาน สำหรับผู้ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ โดย ดร.พิมพ์นิภา หิรัณย์สร สังกัดคณะเทคโนโลยี

ผลงาน ข้าวสี “Zuper rice” โดย ศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร คณะแพทยศาสตร์

uccess Case for Research Utilization with High Impac

ผลงาน สารสกัดผักแพว ใบหม่อน เพิ่มความจำขณะทำงาน ปรับสมดุลการสร้างและสลายกระดูกในวัยทอง โดย ศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร คณะแพทยศาสตร์

 

งานในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญของกลไกที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น เกิดการเจรจาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการ Startup และภาคเอกชน ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ สร้างการเติบโตด้านรายได้ และสร้างความแตกต่างในการแข่งขันได้อย่างแท้จริง

Scroll to Top