ปรากฏการณ์การจัดประชุมวิชาการยุควิถีใหม่!! กับงาน ICER 2020 และ NTIE 2020 แบบ Fully Virtual Conference เต็มรูปแบบ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 13th International Conference on Educational Research (ICER2020) ขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2563 โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ ได้แก่ (1) Mindanao State University-Iligan Institute of Technology ฟิลิปปินส์, (2) Central University of Technology, Free State แอฟริกาใต้ (3) National Cheng-kung university ประเทศไต้หวัน และสถาบันการศึกษาในประเทศ ได้แก่ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุม ICER2020 แบบ Fully Virtual Conference ซึ่งการประชุมวิชาการทางการศึกษาแบบ Conference ออนไลน์เต็มรูปแบบครั้งแรกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงวิถีใหม่ภายใต้สถานะเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มากกว่านั้นแล้ว พร้อมกันนี้ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ The 1st National Teacher Induction Expo (NTIE 2020) ในแบบ Fully Virtual Conference โดยควบคู่กันไปอีกด้วยโดยในพิธีเปิด Opening Ceremony ปีนี้ได้รับเกียรติจาก โดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด และ รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวรายงาน 

ซึ่งท่านประธานในพิธีเปิด รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ได้กล่าวถึงผู้เข้าร่วมการประชุมแบบออนไลน์ว่า “การเข้าร่วมงาน ICER 2020 ของนักวิชาการทุกท่าน ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการให้ความสนใจและความมุ่งมั่นในการแลกเปลี่ยนและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อก้าวสู่การเป็นสังคมแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกท่าน นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของความสำเร็จตามเป้าประสงค์ของการพัฒนาการศึกษาเพื่อสังคมที่ดีกว่าในอนาคต ขอขอบคุณองค์ปาฐกและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศซึ่งได้สละเวลาเข้าร่วมประชุมวิชาการออนไลน์ในครั้งนี้ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเครือข่ายซึ่งได้ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้”

รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้กล่าวว่า “การประชุมวิชาการนานาชาติ ICER 2020 (ครั้งที่ 13) นั้น จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้แก่นักการศึกษาจากชาติต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อพร้อมรับความท้าทายทางการศึกษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ Mindanao State University-Iligan Institute of Education ประเทศฟิลิปปินส์ Central University of Technology, Free State ประเทศแอฟริกาใต้ และ National cheng-kung university ประเทศไต้หวัน คณะผู้จัดการประชุมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานแบบออนไลน์จาก 7 ประเทศ ได้แก่ Taiwan, Hong Kong, Indonesia, Philippines, South Africa, China, Cambodia และจากหลากหลายสถาบันทางการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า (Oral Presentation) กว่า 101 ผลงาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะที่แตกต่างกันร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดทางการศึกษาในสาขาวิชาของตน และยังมีผู้เข้าร่วมจาก ICER และจาก NITE ซึ่งเป็นครูที่ปฏิบัติงานในสถานะศึกษาภายใต้โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รวมกว่า 600 ท่าน ร่วมรับฟังและร่วมชมการนำเสนอ ซึ่งในการประชุมคู่ขนานในครั้งนี้จะเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการได้รับองค์ความรู้ใหม่จากผู้เชี่ยวชาญซึ่งประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศของผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน” 

สำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 (ICER 2020) ปีนี้ เป็นเวทีที่เปิดพื้นที่ให้นักการศึกษาทั่วโลกได้เข้ามานำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมถึงรับองค์ความรู้ใหม่จากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ได้แก่ Prof. Ching Sing Chai จาก The Chinese University of Hong Kong, Hong Kong บรรยายพิเศษในหัวข้อ “TPACK and Professional Learning in STEM Education” Prof. Yueh-Min Huang จาก National Cheng-Kung University, Taiwan, R.O.C., บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Embedding Diagnostic Mechanisms in a Digital Learning Context” ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Transforming Thai Education with Innovation and Technology” รศ.ดร.มนตรีแย้ม กสิกร ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Technology-Enhanced Learning รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาองค์กร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายในหัวข้อ “Transforming Teacher Education for the Future” และ ดร.สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ผู้อำนวยการโครงการภาครัฐ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)” โดยที่นักวิจัยทางการศึกษาซึ่งมีผู้เข้าร่วมนำเสนอกว่า 120 ผลงานจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ Taiwan, Hong Kong, Indonesia, Philippines, South Africa, China, Cambodia ร่วมถึงประเทศไทย และการประชุมวิชาการระดับชาติ The 1st National Teacher Induction Expo (NTIE 2020) จัดขึ้นโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ 19 สถาบันเครือข่ายผลิตครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งผู้เข้าร่วมเป็นครูผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนภายใต้โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  

The New Normal Phenomenon in Fully Virtual Conference – ICER 2020 and NTIE 2020
https://www.kku.ac.th/7876

นอกจากนั้นแล้ว ผศ.ดร.นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ ได้ให้สารสนเทศเพิ่มเติมว่า “เนื่องจากสถานะการการระบาดของ COVID 19 ซึ่งทำให้การประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ซึ่งมีอุปสรรค์จากการเดินทางเข้า – ออกประเทศของผู้เข้าร่วม ดังนั้นการประชุมวิชาการ ICER 2020 ในครั้งนี้ได้ปรับเปลี่ยนจากการเข้าร่วมแบบปกติทั่วไปเป็นแบบ Fully Virtual Conference หรือออนไลน์เต็มรูปแบบ ถือเป็นความพยายามของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การนำของ รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบการสร้างเครือข่าย องค์ความรู้ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้านการศึกษา โดยการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2563 โดยประกอบด้วย Pre-conference เป็นการเข้าร่วม Workshop ของนักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ และเจ้าภาพร่วมจาก วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมจัด Workshop นำเสนอองค์ความรู้และการพัฒนาด้านการศึกษา และกิจกรรม Instructional Showcases ของครูผู้สอนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน 8 กลุ่มสาระวิชา ร่วมถึงการนำเสนอผลงานและบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและในประเทศ”

ซึ่งการดำเนินการในส่วนของประชุมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และทีมร่วมจัดการระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Video Webinars โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top